บทความ » :: บทความวิชาการ อุทาหรณ์คดีปกครอง ::

:: บทความวิชาการ อุทาหรณ์คดีปกครอง ::

31 มีนาคม 2024
409   0

🚩เรื่อง  รายงานการประชุมของ ป.ป.ช. ไม่ใช่เรื่องที่จะขอแล้วให้กันได้ … จริงหรือ !?

📚ถาม  การที่สำนักงาน ป.ป.ช. ไม่เปิดเผยข้อมูลตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่ได้มีคำวินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ยื่นคำขอ เป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ ?

👉ตอบ   การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสำนวนการไต่สวนซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ย่อมไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อันจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ทั้งข้อมูลข่าวสารตามที่ขอก็เป็นรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้พิจารณาทำคำวินิจฉัยของ ป.ป.ช. มิใช่มีลักษณะเป็นความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐที่ไม่อาจเปิดเผยได้ (มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการฯ)

🔸เมื่อศาลพิเคราะห์ถึงการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงาน ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกันแล้ว ข้อมูลข่าวสารตามที่ร้องขอจึงเปิดเผยได้ ประกอบกับคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ ได้มีคำวินิจฉัยให้เปิดเผยซึ่งย่อมเป็นที่สุด และมีผลผูกพันหน่วยงานและเจ้าหน้าที่  ดังนั้น การที่ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าว จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ

🔸 อ่านเพิ่มเติม คลิก  https://bit.ly/บทความเปิดเผยรายงานประชุม

(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 224/2566)

:: สำนักงานศาลปกครอง ::

error: Content is protected !!