ที่เกาะหูยง เมื่อลูกเต่าฟักตัวและเดินลงทะเลในยามค่ำคืน ซึ่งเป็นช่วงที่ปูลมบนเกาะหูยงจำนวนมากออกหากินด้วยเช่นกัน และลูกเต่าเหล่านี้จะกลายเป็นเหยื่อชั้นดี มีทั้งหนีบให้ตายทิ้งบ้าง และหนีบแล้วนำเข้าไปรูปูลมเพื่อเป็นอาหารบ้าง ดังนั้น มีโอกาสน้อยมากที่ลูกเต่าจะเดินถึงทะเล แต่เมื่อถึงทะเลแล้วก็มีโอกาสกลายเป็นเหยื่อของปลาจำนวนมากอีก

ดังนั้น ในแต่ละค่ำคืนเจ้าหน้าที่ของทัพเรือภาคที่ 3 จะตั้งตาตั้งใจรอแม่เต่าที่ขึ้นมาวางไข่ โดยเมื่อแม่เต่าขึ้นไข่เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะเข้าไปบันทึกข้อมูลของแม่เต่าไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ และเจ้าหน้าที่จะเก็บไข่เต่าขึ้นมาดูแลเป็นอย่างดี เพื่อรอให้ไข่ฟักตัวเป็นลูกเต่า แล้วจึงพาเดินทางข้ามทะเลนำกลับมาอนุบาล ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3

จนมีอายุมากว่า 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ดีที่สุดที่เหมาะกลับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เต่าสามารถหากินเองได้ และเอาตัวรอดจากศัตรูได้แล้ว รวมทั้งยังเป็นช่วงอายุที่เต่าสามารถเรียนรู้ และปรับตัวเข้ากลับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี จากการสำรวจข้อมูลของเจ้าหน้าที่พบว่าการที่เรานำมาอนุบาลและปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ “สามารถทำให้เต่ารอดชีวิตได้มากกว่า 80 %”






