ในวันที่ 17 ธันวาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) ทำการบินสำรวจและประเมินสุขภาพประชากรพะยูน บริเวณโดยรอบด้วยอากาศยานไร้คนขับ บริเวณอ่าวป่าคลอก ไม่สามารถสำรวจได้ เนื่องจากอากาศยานไร้คนขับ เกิดอุบัติเหตุ ส่วนบริเวณราไวย์ ไม่พบพะยูน บริเวณสารสิน พบพะยูน 1 ตัว

บริเวณอ่าวตังเข็น พบเต่าทะเล 2 ตัว พบพะยูน 7 ตัว ผลการประเมินสุขภาพพบพะยูน แสดงพฤติกรรมการดำน้ำกินอาหารตามปกติ ความสมบูรณ์ของร่างกายระดับสมบูรณ์ดี (BCS =3/5) อัตราการหายใจ 3 – 5 ครั้ง ใน 5 นาที จำนวน 6 ตัว พบพะยูนมีความสมบูรณ์ของร่างกายระดับผอม ( BCS =2/5) อัตราการหายใจ 3-5 ครั้งใน 5 นาที จำนวน 1 ตัว

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) ) ทำการวางแปลงเสริมอาหารให้กับพะยูนในสถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรม จากนั้นจึงได้ติดตั้งแปลงเสริมอาหาร ชนิดหญ้าช้อง หญ้าตะกานน้ำเค็มและสาหร่ายผมนาง รวม 4 แปลง ผลการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับ ไม่พบพะยูนเข้ามาบริเวณแปลงทดลอง เจ้าหน้าที่จะทำการเฝ้าติดตามต่อไป

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) ทำการบินสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับ มุ้งครอบที่ได้ทำการติดตั้งไว้ บริเวณอ่าวตังเข็น จังหวัดภูเก็ต ทั้ง 5 จุด เพื่อฟื้นฟูหญ้าทะเลให้เจริญเติบโต บริเวณที่มีการกินของพะยูน ก่อนนำมุ้งครอบออกให้เป็นแหล่งอาหารของพะยูนต่อไป





